Categories
ความเห็นอกเห็นใจที่สร้างแรงบันดาลใจ weSafeguardKids

Biology of Safety

When a child experiences severe trauma, the trauma remains trapped in the various layers of the child’s being – not just the physical body – unless it is released and prevented from hijacking the child’s body, heart, mind, or spirit again. The traumatized child may react in fear or powerlessness to harmless situations. Some hyper-vigilantly look out for danger, even when no danger is present. Simply put, the child’s sense of safety has been destroyed.

Trauma can program the intelligence of the physical body to protect and defend itself. When the child sees or hears the abuser approaching, the body begins to panic and engages in a stress response. This stress reaction can be triggered by anything that reminds the child of the abuser or anyone the child suspects will behave like their abuser. The stress reaction is triggered by even the thought or memory of the abuser.

But there’s hope. The sense of safety can be restored. Of course, the child must be removed from hostile and unsafe environments. The child also has to learn not to unwittingly create a hostile environment.

Research by Dr. Bessel van der Kolk, Dr. Gabor Maté, and Dr. Peter Levine reveal effective ways to restore the traumatized child’s sense of safety.

Dr. Bessel van der Kolk found performing in theater plays help restore agency and power, yoga helps reconnect their consciousness back into their bodies, and that specific eye movement patterns provide relief from chronic, overwhelming emotions.

Dr. Gabor Maté delves into the impact of childhood trauma and resulting symptoms, such as addictive behaviors used to sooth and calm themselves. The addictive behaviors expand beyond just alcohol and drug abuse. He affirms the need to restore the child’s sense of self and approach the behavior with compassion and understanding.

Dr. Peter Levine guides traumatized clients to mindful awareness of their physical body’s translation of the harm experienced in the past. He presents somatic techniques to release chronic stress and reprogram the body to exist comfortably in safe environments.

With better understanding of the root causes of trauma and with the various tools and techniques shared by these trauma experts, we can seek alternative approaches of relief of childhood trauma.

Categories
ความเห็นอกเห็นใจที่สร้างแรงบันดาลใจ weSafeguardKids

Perpetual Victimization

For people who have been sexually abused as children, the life path to overcoming the trauma suffered is not a clear, straight line. Sometimes the path is a series of loops where the overall hope is progression towards peace of mind, peace of heart and maybe even to a joyful life.

Some of us thrive as adults. We managed to perform well academically and secure stable jobs. We start a loving family with a trustworthy partner. But we may stumble along the way. It’s important to realize when and why we’re stumbling and to be compassionate with ourselves along the way.

Some of us jump into situations that perpetuate our own victimization as we try to fill the hole of unworthiness in our being. However, some suffer continuous victimization through means beyond our control, such as through the distribution of child sexual abuse material depicting our exploitation.

We are breaking our silence and joining hands with experts who can help disrupt this distribution. Teams of humble heroes are committed to safeguarding children across the globe.

In Australia, Task Force Argos and the Australian Centre to Counter Child Exploitation identify child victims depicted in child sexual exploitation material (CSAM) and investigate offenders and their networks.

In Canada, Project Arachnid by the Canadian Centre for Child Protection crawls the Internet for known CSAM and helps remove this material.

New movement at the global level on the removal of CSAM has been undertaken by the UN Office on Drugs and Crime. In June 2023, 73 countries agreed to call for the removal of known CSAM, including the Phillippines, Singapore, Thailand, and Vietnam here in Southeast Asia.

Let’s keep this movement of compassion going.

Categories
ความเห็นอกเห็นใจที่สร้างแรงบันดาลใจ

Voices of Child Survivors

On 10 March 2023, ECPAT และ PPSEAWA hosted an online event dedicated the voices of child survivors of sexual exploitation to better understand “their personal lived experiences with disclosure, their engagement with law enforcement mechanisms, the criminal justice process and with social services”. Snow White O. Smelser, who currently serves as a UNODC child safety advisor, shared the following during the event.

Warm greetings from Thailand. Thank you, ECPAT and PPSEAWA, for honoring the voices of survivors of child sexual exploitation. This platform brings hope to child survivors who don’t have the opportunity or the courage to speak for themselves … or whose voices get muted. 

Sadly, some victims of sexual exploitation and abuse do not survive and thrive. To cope with the deep trauma, many fall into long-term antisocial behavior, like alcoholism and drug addiction. Some can’t cope so commit suicide.

I myself survived child sexual abuse from the ages of 6 to 9. I was a shy, angelic child, loved by all my teachers, and my parents taught me to “do as you’re told (by adults)”. I didn’t understand what my uncle was doing to me until I learned in school about abuse in its different forms. I then felt so guilty and dirty and cursed with sexiness. He threatened to kill my mother if I told anyone. It was hard to focus on maintaining good grades in school when my mind and heart were suffering. I attempted suicide when I was 9. As I waited for the fatal end to occur, I remember suddenly changing my mind. I realized that I didn’t want my mom to suffer with the heartbreak of losing me. Luckily, my suicide attempt failed – but I suffered psychologically and emotionally in fear of boys and men until my late teenage years. At 16, I decided that my abuser would no longer have power over my emotions and my life. 

In the 1990s, emailing and surfing the Internet became common practice in my university. I loved technology and its benefits. I studied web design and development and began my career in the tech industry building websites for local companies. I was in Friendster and MySpace. I searched for my abuser online back then, but I didn’t find him in those online platforms. I was free from him, and I was thriving.

In 2007, I was unexpectedly hired by the Royal Thai Police’s specialist division on crimes against women and children as their in-house translator. To help me learn the necessary Thai technical language, the police introduced me to ECPAT resources in English and in Thai. (I have loved ECPAT ever since!)

I remember when the Thai police arrested the swirly-face Canadian man wanted by INTERPOL for sexually abusing children in Thailand. I sat in the room with the suspect, quietly trembling in fear as childhood memories came flooding back. I kept my adverse childhood experience a secret even when I joined the UN Office on Drugs and Crime (UNODC) in Bangkok to work on a project specifically on transnational child sex offenders. My experience gave me a special perspective when observing the efforts made and not made to protect children from sexual exploitation and abuse.

Disclosing our traumatic experience of sexual abuse is a tremendously difficult feat. We’ve already been vulnerable, exploited, and wounded by the abusers. Are we brave enough to face the heartbreak when the people we trust enough to disclose this violation to just dismiss us with their disbelief and denial? It hurts to open up and hear, “you were just having bad dreams”, “I didn’t see him do that to you”, “you’re just making up stories”. I have heard worse reactions from untrained police officers and even the mothers as they blamed the children for inciting the abuse. We need to provide a safe space for child victims to be heard and show them our efforts of seeking appropriate help.

Now, as a UNODC advisor on child sexual exploitation and abuse online and offline, I am blessed to be working with the brilliant and passionate Ending Violence against Children team, led by Alexandra Martins in Vienna. No more keeping the secret. This time I told my new team and our lovely UK Government donor that I myself am a child survivor. I told them if my abuse had happened in this digital age and crossed-over online, I would not be alive right now. They embraced my disclosure with empathy, and we all are driven to make real-life impact in honor of child survivors of sexual exploitation and abuse online and offline. We are partnering with child-centered NGOs, including ECPAT, on something that has not been tried before. Something that may rock the online and offline worlds. 

In conclusion, victims become survivors when we can overcome the impact of abuse and live without fear. With love and support, we can be like lotus flowers that start off in the mud, reach for the sky, and blossom into beautiful adults. Thank you, Dr. Raj, for encouraging me to share my story. Thank you all for providing this platform to acknowledge and share the voices of child survivors around the world. It means more to us than my words can say. 

Categories
ความเห็นอกเห็นใจที่สร้างแรงบันดาลใจ weSafeguardKids

หัวใจที่แตกหัก, จิตใจที่แตกสลาย

ผู้ชายคนหนึ่งได้เดินไปยังเพื่อนบ้านของเขาและของานทำที่สนามหลังบ้าน ลมหายใจของเขาเต็มไปด้วยกลิ่นเหล้า เพื่อนบ้านลังเลแต่สุดท้ายก็อนุญาตให้เขาเข้าไปสนามหลังบ้าน

ในขณะที่เธอพาเขาเดินไปหลังบ้านนั้น เธอก็ได้บอกเขาว่า “ต้นไม้ต้องได้รับการตัดตกแต่ง กิ่งก้านของมันยาวจนไปโดนสายไฟแล้ว ฉันให้คุณได้แค่ 20 เหรียญดอลล่าห์เท่านั้นนะ”

เขายิ้ม และหยิบเครื่องมือทันที นี่คือหนึ่งในงานชั่วคราวแค่ไม่กี่งานที่เขาสามารถทำได้ในเมืองนี้เพื่อจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆของเขา เพราะเขาอายุเกิน 50 แล้ว ได้หย่าร้าง เป็นคนไร้บ้าน และเป็นเรื่องยากที่จะหางานที่มั่นคงที่เขาจะเอามาจ่ายค่าเหล้าของเขาได้

ผู้คนต่างก็ตัดสินเขา บ้างก็สงสารเขา บ้างก็ดูถูกเขาที่ไม่สามารถเลิกติดเหล้าได้ เขาได้เคยไปสถานบำบัดสุรา และเลิกดื่มสุราเป็นเวลา 2-3 ปี แต่สุดท้ายกลับมาติดสุราเหมือนเดิม จนเจ้าหน้าที่ที่ดูแลเขาล้มเลิกที่จะช่วยเขา

เขาดื่มสุราเพื่อให้ลืมความเจ็บปวดความไร้ค่าของตัวเอง เขาดื่มเพื่อให้ลืมความเจ็บปวดของแผลเป็นที่ลึกในหัวใจของเขา เขาเคยเป็นเด็กน่ารักเรียบร้อย แต่เขาถูกกระทำชำเราตอนเขาอายุได้เพียง 4 ขวบเท่านั้นโดยสมาชิกชายในครอบครัวเขาที่เขารัก เคารพและไว้ใจ เขาเติบโตมาด้วยความสับสนทางเพศ สับสนกับความรักและการร่วมเพศ เขาโกรธมากหลังจากที่ได้เริ่มเข้าใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับเขาในวัยเด็กทั้งหมดเมื่อเขาเข้าสู้วัยรุ่น การดื่มสุราจึงเป็นทางออกของเขาในการรับมือกับแผลที่ฝังลึกอยู่ในใจของเขา

เด็กผู้ชายก็สามารถเป็นเหยื่อได้เหมือนกัน หัวใจ จิตวิญญาณ และร่างกายของพวกเขา ก็ได้รับความทรมานด้วยเช่นกัน ชีวิตของพวกเขาก็ได้รับผลกระทบอย่างหนักด้วยเช่นกัน

เราต้องการปกป้องและป้องกันเด็กจากการโดนทำร้าย เราต้องการหาหนทางต่างๆในการรักษาและช่วยเหลือเด็กๆเหล่านั้นที่ถูกกระทำ เรามาร่วมกันซ่อมแซมจิดใจและจิตวิญญาณของเด็กๆเหล่านี้กันเถอะค่ะ

Update: In mid-February 2021, the man in the above story passed away of a heart attack while helping friends move to a new house. He will remain an inspiration for voicing the impact of sexual abuse on children.

Categories
ความเห็นอกเห็นใจที่สร้างแรงบันดาลใจ

ผลกระทบจากการถูกล่วงละเมิด

Sexual abuse has LIFELONG EFFECTS on exploited children.

การถูกล่วงละเมิดทางเพศในขณะที่เป็นเด็กนั้น จะส่งผล กระทบมากมายต่อเด็กคนนั้นระยะยาว บางคนอาจจะได้รับผลกระทบร้ายแรงทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ในขณะที่เด็กบางกลุ่มสามารถฟื้นฟูตัวเองและกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้ แต่หลายคนก็จะเก็บประสบการณ์ของตนเองไว้ และไม่ได้รับการฟื้นฟูโดยทันที ซึ่งอาจจะส่งผลให้เด็กแสดงออกถึงพฤติกรรมทางเพศและการปฏิสัมพันธ์ที่ไม่ปกติ ผู้ล่วงละเมิดทางเพศหลายคนมักจะอ้างว่าพวกเขาถูกล่วงละเมิด เพื่อเรียกร้องความเห็นอกเห็นใจ แต่การวิจัยในปัจจุบันพบว่าการกล่าวอ้างนี้มีความเกินความจริงเป็นอย่างมาก

การถูกล่วงละเมิดทางเพศเป็นบาดแผลที่ฝังลึกในตัวเด็ก และไม่ค่อยถูกเปิดเผยต่อเพื่อนสนิทและญาติของเด็ก เด็กบางคนที่เปิดเผยเรื่องการถูกล่วงละเมิดแก่ผู้ใหญ่ที่เขาไว้ใจ แต่กลับไม่มีใครเชื่อและถูกตำหนิ การแสดงออกแบบนี้ยิ่งทำให้เด็กไม่ไว้ใจผู้ใหญ่ และทำให้ความวิตกกังวลชองเด็กยิ่งเร็วร้ายเพิ่มขึ้น ด้วยสิ่งเหล่านี้จึงทำให้เด็กหลายคนที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศพยายามฆ่าตัวตายเพื่อหนีความเจ็บปวด ซึ่งหลายคนก็จบชีวิตของตัวเองได้จริงๆ และอีกหลายๆคนที่ไม่ได้ฆ่าตัวตายก็มักจะทำร้ายตัวเองด้วยวิธีอื่น เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ หรือการใช้ยาเสพติด

เด็กหลายๆ คนแบกเอาบาดแผลจากการถูกล่วงละเมิดจนพวกเขาโตเป็นผู้ใหญ่ จึงเป็นเหตุให้การที่จะมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นหรือคนรักนั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก เพราะความทรงจำอันโหดร้ายนั้นยังคงครอบงำจิตใจพวกเขาอยู่ คนที่ถูกกระทำบางคนได้ใช้ความเกลียดชังนั้นไปในทางเพศสัมพันธ์ ในขณะที่บางรายเกิดการสับสนเรื่องเพศสัมพันธ์กับความรัก ว่าเพศสัมพันธ์สามารถแลกกับความรักได้

ผลกระทบทางอารมณ์

  • วิตกกังวล
  • โกรธ
  • โทษตัวเอง
  • ไม่ยอมรับความจริงที่เกิดขึ้น
  • สภาวะซึมเศร้า
  • หดหู่
  • หงุดหงิด
  • รู้สึกผิด
  • ไม่มีความมั่นใจในตัวเอง
  • เกลียดตัวเอง
  • สภาวะตกใจ
  • สงสารผู้กระทำ
  • อาฆาต เคียดแค้น
  • ไม่แสดงอารมณ์ความรู้สึก
  • รู้สึกไร้ค่า

ผลกระทบทางร่างกาย

  • เลือดออกบริเวณอวัยวะเพศและทวารหนัก
  • รอยฟกชํ้าบริเวณอวัยวะเพศและทวารหนัก
  • เดินลำบาก
  • คันบริเวณอวัยวะเพศ
  • ตั้งครรภ์
  • ร่องรอยการบาดเจ็บจากการทำร้ายตัวเอง (เช่น จากการพยายามฆ่าตัวตาย)
  • นำ้หนักเพิ่มหรือลดอย่างหนัก (เกิดจากความผิดปกติความต้องการอาหาร)
  • มีปัญหาการนอนหลับ

ผลกระทบทางด้านพฤติกรรม

  • ดื่มแอลกอฮอล์และใช้สารเสพย์ติด
  • ก้าวร้าว
  • ปัสสาวะรดที่นอน
  • กระทำผิดกฎหมาย
  • มีปัญหากับเพื่อนวัยเดียวกัน
  • เบื่ออาหาร
  • ไม่เป็นมิตร
  • สมาธิสั้น
  • ไม่ไว้ใจผู้อื่น
  • ขี้โกหก
  • ฝันร้าย
  • โรคกลัว
  • หนีออกจากบ้าน
  • พฤติกรรมทางเพศที่ไม่สมวัย
  • ทำร้ายตัวเอง
  • คิดฆ่าตัวตายหรือพยายามฆ่าตัวตาย

Categories
ความเห็นอกเห็นใจที่สร้างแรงบันดาลใจ

รูปแบบการล่วงละเมิด

การล่วงละเมิดต่อเด็ก

การล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กมีหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่การกระทำที่เสมือนจะบริสุทธิ์ ไปจนกระทั่งการกระทำที่ชัดเจนและก่อให้เกิดความเสียหายมากมาย  “เจตนา” ของผู้กระทำเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ในการนิยาม “การล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็ก” นั้นต้องมีเจตนาในการ กระตุ้นทางเพศหรือการทำให้สำเร็จความใคร่ ทั้งนี้เราต้องไม่สับสนกับการแสดงออกถึงความรักใคร่หรือสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความรักจากการสัมผัสทางกาย เช่น การกอด เป็นต้น “สื่อลามกอนาจารเด็ก” เป็นหลักฐานของการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กเพราะเห็นได้ชัดว่าถูกใช้ในการ "สำเร็จความใคร่" จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมสื่อลามกอนาจารเด็กจึงถือได้ว่าเป็นการล่วงละเมิดทางเพศด้วย

การสัมผัสทางกาย

  • การสัมผัสตัวเด็กอย่างไม่เหมาะสมโดยมีเจตนาทางเพศ (เช่น การจับ และลูบไล้)
  • การให้เด็กสำเร็จความใคร่ให้ผู้อื่น
  • มีการสอดใส่เข้าไปในอวัยวะเพศของเด็ก (สอดใส่สิ่งของหรืออุปกรณ์ทางเพศเข้าไปในช่องคลอด ทวารหนัก หรือปากของเด็ก)
  • ข่มขืนเด็ก (ทางอวัยวะเพศ รูทวาร และ ทางปาก)
  • ใช้เด็กเป็นวัตถุลามก (เช่น การถ่ายรูปหรือถ่ายวีดีโอในขณะที่ทำกิจกรรมทางเพศกับเด็ก)

ไม่มีการสัมผัสทางกาย

  • ทำกิจกรรมทางเพศ (สำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง หรือมีเพศสัมพันธ์กับผู้อื่น) ต่อหน้าเด็ก
  • อวดอวัยวะเพศ (เช่น ให้เด็กดูอวัยวะเพศชายที่แข็งตัว)
  • ใช้เด็กเป็นวัตถุลามก โดยที่ไม่มีการร่วมเพศกับเด็ก (เช่น ถ่ายรูปเด็กในชุดว่ายน้ำ เพื่อกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ)
  • พูดจาลวนลามหรือพูดสองแง่สองง่ามกับเด็ก

การล่อลวงและหว่านล้อม

  • ให้เด็กสนทนาทางด้านเพศ
  • ชักชวนให้เด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางเพศและการแสดงที่กระตุ้นอารมณ์ทางเพศ
  • ให้เด็กดูสื่อลามกอนาจาร ซึ่งแสดงถึงการมีเพศสัมพันธ์ของเด็กคนอื่นหรือผู้ใหญ่

สื่อลามกอนาจารเด็ก

  • ดูหรือดาว์นโหลดภาพทีสื่อทางเพศของเด็กโดยมีเจตนา เพื่อสนองอารมณ์ทางเพศ
  • ดาว์นโหลดเรื่องราวทางเพศที่เกี่ยวข้องกับเด็กโดยมีเจตนาเพื่อสนองอารมณ์ทางเพศ

Categories
ความเห็นอกเห็นใจที่สร้างแรงบันดาลใจ

การปกป้องเด็ก คือการลงทุนในอนาคตของชาติ

โดย น.ส.สโนว์ไวท์ สเมลเซอร์ สานักงานป้องกันยาเสพติดและปราบปรามอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ สำหรับแม็กกาซีน Forbes ประเทศไทย ฉบับเดือนเมษายน ปี 2015

เด็กและเยาวชนควรจะได้รับการส่งเสริมในฐานะ ทรัพยากรที่มีค่าที่สุดของประเทศ ดังนั้นการที่พวกเขาถูกทำร้าย หรือถูกละเมิด จึงส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศในเชิงลบ เป็นมูลค่าที่สูงมากทีเดียว ถึงแม้ว่าจะไม่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจเลยก็ตาม เด็กก็ไม่ควรจะถูกกระทำเลยไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม ในปี 2557 สหประชาชาติได้ทำการศึกษาพบว่า เกิดการสูญเสียในเชิงเศรษฐกิจ เป็นมูลค่าถึง 205.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ในแถบประเทศเอเชียตะวันออก และคราบสมุทรแปซิฟิก แค่การล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กอย่าเดียวก็ก่อให้เกิดการสูญเสียถึง 39.2 ล้านเหรียญสหรัฐ

เด็กที่เป็นเหยื่อของการล่วงละเมิดจะกลายเป็นรายจ่ายต่อประเทศ เพราะเด็กเหล่านี้จะต้องใช้ทรัพยากรในการรักษาพยาบาล และการพักฟื้น เด็กที่ถูกละเมิดจะถูกจำกัดความคิดสร้างสรรค์ และไม่สามารถที่จะทำงานให้ได้ประสิทธิผลสูงสุดในการพัฒนาสังคม จึงไม่ส่งผลในการส่งเสริม GDP ของประเทศเมื่อพวกเขาถึงวัยทำงาน บางคนก็กลับไปสู่วงจรของการล่วงละเมิดผู้อื่นที่อ่อนแอกว่า 

ความสูญเสียที่เกิดจากการล่วงละเมิดทางเพศ

การล่วงละเมิดทางเพศเป็นแผลลึกที่อาจถูกปกปิดไว้จากบุคคลใกล้ชิดของเด็กเอง เด็กหลายคนที่กล้าที่จะบอกความจริงว่าตนถูกล่วงละเมิดเทางเพศ แล้วต้องพบเจอกับผู้ใหญ่ที่ไม่เข้าใจ และไม่เชื่อในสิ่งที่เด็กบอก จึงทำให้เด็กถูกทำร้ายซ้ำเติมด้วยข้อกล่าวหาว่าสร้างเรื่องโกหกขึ้นมา หรือโดนดุว่าสร้างเรื่องขึ้นมา กล่าวหาใส่ร้ายผู้อื่น หรือถูกกล่าวโทษว่าเป็นฝ่ายยั่วยุจึงทำให้เกิดเหตุการณ์ละเมิดขึ้น เด็กจึงเก็บความเจ็บปวดไว้โดยลำพัง และไม่กล้าที่จะไว้ใจผู้ใหญ่ที่ควรจะเป็นผู้ที่ช่วยเหลือพวกเขาอีก 

การถูกล่วงละเมิดทางเพศ ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาด้านจิตใจและอารมณ์จึงทำให้เด็ก ไม่สามารถที่จะเรียนรู้และเสริมสร้างประสิทธิผลสูงสุดได้ตามที่ควร เด็กบางคนจะรู้สึกสูญเสียคุณค่าในตัวเอง และเสียความเคารพที่มีต่อตัวเอง เมื่อค้นพบว่าประสบการณ์ที่ตนเจอมาเป็นสิ่งที่ผิดต่อผิดศีลธรรม เด็กที่เป็นเหยื่อของการล่วงละเมิดทางเพศมักมีปัญหาในการเรียน ทำให้ผลการเรียนไม่ดี จึงทำให้มีโอกาสจำกัดในการหางานที่รายได้ดี และปัญหาการขาดความกระตือรือร้นมีผลกระทบเช่นเดียวกันในการทำงาน ซึ่งส่งผลต่อการก้าวหน้าทางหน้าที่การงาน การขาดความใส่ใจที่จะพัฒนาตัวเองและผลการเรียนและการทำงานที่ไม่เป็นที่น่าพอใจ ทำให้เด็กไม่สามารถทำประโยชน์อย่างเต็มที่ให้กับสังคมในยามที่โตเป็นผู้ใหญ่ในวัยทำงาน 

การช่วยดูแลวิถีชีวิต, การลดค่าใช้จ่าย

นักวิจัยพบว่าวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการประเมินมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นทั่วโลก ในแง่ของความเสียหายที่เกิดขึ้นกับร่างกาย จิตใจ และความรุนแรงทางเพศ คือการคำนวน ความสูญเสียของประสิทธิผลมวลรวมของประเทศ (The Cost and Economic Impact of Violence against Children, ChildFund 2014) ซึ่งประเทศไทยมี GDP อยู่ที่ 387.25 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2014 ความสูญเสียของประสิทธิผลมวลรวมของประเทศไทยถูกประเมินไว้ที่ 30.98 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือ 8% ของ GDP ของประเทศ เมื่อ GDP ของประเทศเติบโตขึ้น ความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากความรุนแรงต่อเด็กก็จะเพิ่มขึ้นเช่นกัน หากประเทศไทยลงทุนในการปกป้องคุ้มครองเด็กๆ ประเทศก็จะสามารถลดค่าใช้จ่ายที่ต้องสูญเสียไปกับการรักษาพยาบาลและการพักฟื้นได้

Source:  Estimating the Economic Burden of Violence against Children in East Asia and the Pacific – (UNICEF East Asia and the Pacific Regional Office, 2014)

การร่วมมือกับหุ้นส่วนหลักที่สำคัญ

ปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กเป็นปัญหาที่มีผลกระทบในวงกว้าง จึงเป็นไปไม่ได้ที่หน่วยงานใด หน่วยงานหนึ่งจะแก้ไขได้โดยลำพัง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้เข้ามาแก้ปัญหาทางสังคมหลายเรื่องเช่นการค้ามนุษย์และการดูแลผู้สูงอายุ แต่ดูเหมือนว่าทางกระทรวงมีงานล้มมือในการดูแลเหยื่ออยู่แล้ว 

ในปี 2556 กระทรวงสาธารณสุขได้รายงานว่า มีเด็กที่ถูกทารุณกรรมเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลของรัฐ กว่า 19,000 คน จากจำนวนนี้ กว่า 70% หรือ 13,300 คนถูกนำมารักษาเพราะถูกล่วงละเมิดทางเพศ ตัวเลขนี้ถือว่ายังต่ำกว่าจำนวนเหยื่อทั้งหมด เป็นแค่จำนวนที่มีการรักษาดูแลทางการแพทย์ ตัวเลขคดีที่ถูกนำไปแจ้งความไว้กับตำรวจยิ่งต่ำกว่านี้อีก ตัวเลขของสำนักงานตำรวจแห่งชาติระบุว่าในปี 2556 มีเด็กที่ถูกล่วงละเมิด 2,791 คน ที่ร่วมมือกับตำรวจในการสอบสวนคดีเกี่ยวกับการล่วงละเมิดทางเพศเด็ก และโดยกว่าครึ่งของจำนวนนี้เป็นเด็กผู้ชาย

การจัดการของประเทศไทย

มีแนวโน้มในภูมิภาค ASEAN ในการแสดงภาพในรูปแบบ live streaming ของการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กที่ “นักล่า” นับแสนจากทั่วโลกสามารถเข้ามาดูได้ การผลิตสื่อลามกอนาจารเด็กดังกล่าวต้องเกิดจากการล่วงละเมิดทางเพศเด็กโดยผู้กระทำความผิดล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กและผู้ที่มีส่วนให้ความร่วมมือในการถ่ายทำ  

ผู้กระทำความผิดล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็ก มักครอบครอง ผลิต จำหน่าย และรับชมสื่อลามกอนาจารเด็กเหล่านี้ ผู้กระทำความผิดดังกล่าวจะใช้สื่อลามกนี้เป็นบัตรผ่าน เข้าไปยังกลุ่มคนที่มีรสนิยมแบบเดียวกัน ความต้องการสื่อลามกเหล่านี้ที่มากขึ้น ย่อมหมายความว่า เด็กจำนวนมากขึ้นจะต้องถูกล่วงละเมิดทางเพศ 

ผู้กระทำผิดยังใช้สื่อลามกอนาจารเด็ก (ซึ่งในอดีตเคยถูกเรียกว่า "หนังโป๊เด็ก"และก็เคยถูกเรียกว่า "วัตถุลามกอนาจารเด็ก" และ “child exploitation images”) เพื่อล่อลวงให้เด็กเชื่อว่าการมีกิจกรรมทางเพศระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่เป็นเรื่องปกติ สื่อลามกเหล่านี้ นอกจากจะเป็นเครื่องชี้ชวนให้เด็กยินยอม ยังถือเป็นหลักฐานที่แน่นหนาว่า การล่วงละเมิดทางเพศเด็กได้เกิดขึ้น และควรจะถูกใช้ให้เป็นประโยชน์ในการระบุถึงสถานที่ก่อเหตุ โดยผู้ที่มีหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย 

ประมาณสิบปีที่แล้ว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้ออก ร่าง พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามสิ่งยั่วยุพฤติกรรมอันตราย ถือได้ว่าเป็น พ.ร.บ. ที่มีเจตนาดีในการทำให้สื่ออนาจารเด็กเป็นสิ่งผิดกฎหมาย แต่เนื่องจากความตั้งใจที่จะแก้ปัญหาหลายส่วนในคราวเดียว ประเด็นเรื่องสื่อลามกอนาจารเด็กจึงมีโทษที่ไม่รุนแรงมากนัก หากต้องการหยุดยั้งห่วงโซ่ทางการตลาดที่ได้รับประโยขน์จากสื่อลามกอนาจารเด็ก ผู้บังคับกฏหมายจึงต้องมีเครื่องมือในการสกัด จับกุม และฟ้องร้องกล่าวโทษและดำเนินคดีต่อผู้กระทำผิดดังกล่าว  

ในปี 2556 สำนักงานป้องกันยาเสพติดและปราบปรามอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ สำนักงาน เอเชียตะวันออกเชียงใต้ และแปซิฟิก ได้ให้คำแนะนำกับ กระทรวงยุติธรรมในการจัดการกับสื่อลามกอนาจารเด็ก ภายในกรอบของกฎหมายดังนี้ 

  • พัฒนาการบทบัญญัติที่เฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับวัตถุลามกอนาจารเด็กและครอบคลุมบทลงโทษที่มีประสิทธิภาพรวมทั้งการกำหนดโทษทางอาญาสำหรับการครอบครองและการผลิตวัตถุลามกอนาจารเด็กไม่ว่าการมีไว้ในครอบครองหรือการผลิตนั้นจะทำเพื่อการค้าการแจกจ่ายหรือการใช้ในที่สาธารณะหรือไม่ก็ตาม
  • สร้างความมั่นใจว่าวัตถุลามกอนาจารเด็กจะสามารถถูกตีความให้ครอบคลุมถึงหลากหลายชนิดของวัสดุและสามารถปรับให้เข้ากับเทคโนโลยีใหม่ๆได้

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ สนช.ได้ผ่านร่าง พ.ร.บ. ที่ได้รับการสนับสนุนจาก มูลนิธิพิทักษ์และคุ้มครองเด็ก โดยมีเนื้อหาที่นิยาม สื่อลามกอนาจารเด็ก ตามคำแนะนำของ UNODC และที่ครอบคลุมกว่าพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก เรื่องการขายเด็ก การค้าประเวณีเด็ก และสื่อลามกที่เกี่ยวกับเด็ก พ.ร.บ. ดังกล่าวกำหนดโทษจำคุกห้าปี หากครอบครองสื่อลามกอนาจารเด็ก และโทษจำคุกเจ็ดปี หากจำหน่ายหรือเผยแพร่สื่อลามกอนาจารเด็ก 

การทำให้การครอบครองสื่อลามกอนาจารเด็กเป็นสิ่งผิดกฎหมาย หมายความว่า การผลิตสื่อลามกอนาจารเด็กใหม่ นั่นหมายถึงการทำร้ายเด็กมากขึ้นด้วยนั้น จะผิดกฎหมาย หากสามารถบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เด็กๆก็จะได้เป็นทรัพยากรที่มีค่า ที่จะส่งเสริมการพัฒนาประเทศ แทนที่รัฐจะต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลพวกเขา   

คุณจะช่วยได้อย่างไร?

ท่านก็สามารถมีส่วนร่วมในการสร้างอนาคตที่มั่นคง แข็งแรงให้กับเยาวชนและกับประเทศชาติ โดย: 

  • สนับสนุนให้รัฐบาลลงทุนในโครงการ และมาตรการป้องกันคุ้มครองเด็กที่มีผลในระยะยาว 
  • ค้นหาโอกาสในองค์กรของท่านที่จะช่วยลงทุนในโครงการป้องกันคุ้มครองเด็ก
  • ค้นหาโอกาสในการร่วมมือกับองค์กรอื่นๆ 
  • ลงชื่อสนับสนุนการพลักดัน พ.ร.บ. ที่ http://www.change.org/childabuse เพื่อที่จะทำให้การครอบครองสื่อลามกอนาจารเด็กเป็นสิ่งผิดกฎหมาย

Update

In December 2015, the Thai National Legislative Assembly passed the bill criminalizing the possession of child sexual abuse material nearly unanimously, with 193 of 196 members voting in favor of the law.